Learning
Log 1 (นอกห้องเรียน )
กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษา
“ภาษาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์
เพราะมนุษย์ต้องใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับคนทั่วโลก
แต่การเรียนรู้ภาษาใดภาหนึ่งนั้นที่ไม่ใช่ภาแม่ของตน ก็จะมีความยากในการเรียน
เพราะเรียนรู้ภาจำเป็นต้องฝึกทักษะในการเรียนรู้ เช่น การพูด ฟัง อ่านและเขียน
หากผู้เรียนมีทักษะทั้งหมดนี้
ก็จะเป็นผู้หรือผู้เชี่ยวชายในภาษานั้นได้อย่างดีเยี่ยม
ในสังคมไทยปัจจุบันมีการเรียนการสอนในสภาบันต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนภา
เช่นภาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่นและอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนมากที่สุดในประเทศไทย
เพราะภาษาอังกฤษคือภาษาสากลของโลก
ผู้คนใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น คมนาคม การค้าขาย การสื่อสาร
การศึกษา การเมือง และอื่นๆ ด้วยเหตุนี้
การเรียนภาษาอังกฤษจึงมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยในปัจจุบันมาก
ดังนั้นจึงมีการแบ่งแยกองค์ประกอบของกลยุทธ์ในการเรียนภาษาในการศึกษาไทยด้วยกัน 10
ประการ แต่ข้าพเจ้าคิดว่ากลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดที่ผู้เรียนภาษาพึงมีและพึงปฏิบัตินั้นก็คือการฝึกฝนและการศึกษา
การเรียนภาษาต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาโดยตรงก่อนเสมอ
ความรู้ที่เปรียบเสมือนเสาหลักจะมีอยู่สองด้าน นั้นก็คือ ศัพท์กับไวยากรณ์ “ศัพท์”
คือถ้อยคำที่ใช้แทนความหมาย
ส่วนไวยากรณ์คือโครงสร้าง หรือกฎเกณฑ์ต่างๆว่าด้วยการนำถ้อยคำมาร้อยเรียงประกอกันเข้าให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น
เช่น วลี ประโยค อนุประโยคและอื่นๆ เพื่อใช้สื่อความหมายได้อย่างสมบูรณ์
เห็นได้ชัดว่าการศึกษาภานั้นมีความสำคัญต่อผู้เรียนภาษาเป็นอย่างมาก
เพราะจะทำให้เข้าใจถึงตัวภาษานั้นๆได้ดี นอกความรู้จากตัวเนื้อหาภาษาแล้ว
ยังมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษาและความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติผู้ซึงเป็นเจ้าของภาษา
วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วรรณคดีและอื่นๆ
เพราะความรู้เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจภาษาที่จะศึกษาได้ง่ายขึ้น และศึกษาภาษานั้นได้ดี
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาที่สำคัญมากอีกหนึ่งประการนั้นก็คือการฝึกฝน
ในการเรียนภาษา
ส่วนใหญ่จะมีความแตกต่างจากวิชาอื่นๆ และจะต้องมีสองด้านควบคู่กัน
นั้นก็คือความรู้และทักษะ ความรู้เป็นภาคทฤษฎี ส่วนทักษะคือภาคปฏิบัติ การเรียนแต่ภาคทฤษฏีโดยปราศจากภาคปฏิบัตินั้น
ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นก็คือการนำภาษาไปใช้ได้
ในตำราฝรั่งจึงมีคำใช้เรียกวิชาภาษาว่า วิชาทักษะเพื่อเน้นความสำคัญของภาคปฏิบัติ
แต่ในขณะเดียวกันก็มิได้ละเลยความสำคัญของภาคทฤษฎีแม้แต่น้อย
เพียงแต่ผู้เรียนละไว้ในฐานที่เข้าใจเท่านั้น
ประโยชน์ของภาคปฏิบัตินั้นจะทำให้ผู้เรียนสามรถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว
และสามารถใช้ภาษานั้นในได้อย่างถูกต้อง หารผู้เรียนฝึกฝนการใช้ภาษาบ่อยๆ
จะทำให้ผู้เรียนเกิดความชำนายในการใช้ภาษาเป้นอย่างมากการฝึกภาษาให้ได้ผลจำต้องผ่านอินทรีย์หลายทางควบคู่กัน
คือ หู ตา ปาก และมือ ซึ่งทั้งสี่นี้สอดคล้องกับทักษะการใช้ภาษ4ด้าน
นอกจากนี้ยังมีแรงเสริมอีก2ทาง ก็คือ หัว-คิด
และใจ-รัก ทั้ง6 ข้อนี้อาจจะเรียกโดยรวมว่าอินทรีย์6ในการเรียนภาษา
จะเห็นได้ว่าการฝึกฝนและปฏิบัติในการใช้ภาษานั้นมีความสำคัญต่อผู้เรียนภาษาเป็นอย่างมาก
เพราะในปัญหาด้านการใช้ภาษานั้นได้ไม่ดี ไม่คล่อง
ก็เกิดจากการฝึกฝนที่น้อยเกินไปนั้นเอง
การเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งก็ตาม
ย่อมมีความยากลำบากในเรียนเป็นธรรมดา
เพราะการเรียนภาษานั้นต้องรู้ถึงองค์ประกอบของกลยุทธ์การเรียนภาษา 10
ประการ
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ละเข้าใจภาษานั้นได้ดี
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในกลยุทธ์การเรียนภาษานั้นก็คือการศึกษาและฝึกฝน
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนภาษา เพื่อนำภาษาไปใช้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
ดังนั้นก้าวแรกของผุ้การเรียนภาษาจะต้องศึกษาเล่าเรียนเกี่ยวกับการศึกษาและฝึกฝนภาษานั้นก่อน
เพราะจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจตัวภาษาได้อย่างลึกซึ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น