วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
                ในปัจจุบันมีการใช้ภาอังกฤษเป็นภาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง เช่น เดินทางอากาศ ใช้ในการทางไปรษณีย์  ในการประชุมสัมมนานานาชาติ และใช้ในการพาณิชย์ ธุรกิจ การช่วยเหลือนานาชาติ ตลอดจนในเรื่องการศึกษา จึงแสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยังใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์ทั่วโลก
 
การแปลในประเทศไทย
              การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายรายณ์มหาราช ส่งพระยาโกษาปานไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก  มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ละมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักด้วย

การสอนการแปลในระดับมหาวิทยาลัย
               การสอนการแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนวยากรณ์ และโครงสร้างภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเอความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้เรื่องเหล่านี้ และผู้ที่จะแปลควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดี โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริง เช่น ลักษณะไวยากรณ์ทางภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติของผู้แปล
1.เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้
3.เป็นผู้เรียนภาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
4.เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
5.ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย   
6.ผู้แปลต้องมีความอดทน เสียสละ

จุดมุ่งหมายของผู้สอนการแปลคือ สอฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม สรุปว่าผู้เรียนการแปลจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1.รู้ลึกซึ้งในภาษา   มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี มีความสามรถในการใช้ภาษา
2.รักการอ่าน ค้นคว้า
3.มีความอดทน มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4.มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง

นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่มีความสามารในการถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ขาดหรือเกิน 

วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.เป้าหมายที่สำคัญของการสอนการแปล คือการฝึกฝนเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆโดยหาข้อมูลด้วยการออกแบสอบถามสัมภาษณ์ นักแปลในสาขาอาชีพต่างๆเพื่อเป็นแนวทางกำหนดในหลักสูตรว่าควรจะสอนอะไร
2.การสอนแปลให้ได้ผล ตามทฤษฏีวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะสองทักษะ คือทักษะในการอ่านและทักษะการเขียน ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้ และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้  
3.ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ
4.ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลมืออาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปลเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพ

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลกระทบต่อการแปล
ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
1.ชนิดของคำ เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่เราต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ เช่น ถ้าต้องการใช้คำที่หน้าที่เป็นประธานของประโยค เราต้องใช้คำนาม แต่ถ้าเราใช้คำชนิดอื่น ประโยคจะผิดไวยากรณ์  
ประเภททางไวยากรณ์  หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาหนึ่ง ซึ่งมักสำพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ พจน์ ลิงค์ การรก กาล มาลา วาจก เป็นต้น ประเภททางไวยากรณ์บางประเภทเป็นสิ่งสำคัญในภาษาหนึ่ง แต่อาจไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็เป็นได้ เช่น พจน์ เป็นสิ่งสำคัญมากในภาษาอังกฤษ ผู้พูดภาษาอังกฤษต้องคำนึงถึงพจน์เสมอ เมื่อจะใช้คำนามนับได้   

1.1 คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย ได้แก่ บุรุษ พจน์ การก ความชี้เฉพาะ และการนับได้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้จะช่วยในการแปลอย่างมาก
1.1.1 บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด (บุรุษที่1) และผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2) หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง (บุรุษที่3)

1.1.2 พจน์ เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง ภาษาอังกฤษมีตัวชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนดที่ต่างกัน เช่น ใช้ a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้น และแสดงพจน์โดยการเติมท้ายหน่วยคำศัพท์ /s/ แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนั้นเพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน จริงอยู่เราอาจใช้คำว่า ทั้งหลาย หลายตัว หลายอัน หนึ่งตัว หนึ่งคน และอื่นๆ ขยายคำนามเพื่อให้ตรงกับคำพหูพจน์และเอกพจน์ในภาษาอังกฤษ แต่ไม่เป็นธรรมชาติของภาษาไทย  

1.1.3 การรก คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร คือสำพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร เช่นเป็นประธาน กรรม สถานที่และอื่นๆ ภาต่างกันที่มีการกด้วยวิธีต่างกัน ภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน เช่น บาลี สันตกฤต ละติน เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ มีการแสดงการกที่คำนาม
1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ กับนามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม เช่น cat, dog , mouse กับคำนามเช่น water, hair ความต่างดังกล่าวนี้แสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/anกับคำนามที่เป็นเอกพจน์ และเติม s ได้ที่คำนามที่เป็นคำนามพหูพจน์ส่วนนามไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an นำหน้าคำนามนับไม่ได้
1.1.5 ความชี้เฉพาะ เป็นประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ ผู้พูดภาษาอังกฤษจะเรียนรู้ลักษณะนี้ตั้งแต่เริ่มหัดพูดภาษาอังกฤษ