ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลกระทบต่อการแปล
ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
1.ชนิดของคำ เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง
เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่เราต้องการสื่อสาร
ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ เช่น ถ้าต้องการใช้คำที่หน้าที่เป็นประธานของประโยค
เราต้องใช้คำนาม แต่ถ้าเราใช้คำชนิดอื่น ประโยคจะผิดไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์ หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาหนึ่ง
ซึ่งมักสำพันธ์กับชนิดของคำ เช่น บุรุษ พจน์ ลิงค์ การรก กาล มาลา วาจก เป็นต้น
ประเภททางไวยากรณ์บางประเภทเป็นสิ่งสำคัญในภาษาหนึ่ง แต่อาจไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็เป็นได้
เช่น พจน์ เป็นสิ่งสำคัญมากในภาษาอังกฤษ ผู้พูดภาษาอังกฤษต้องคำนึงถึงพจน์เสมอ
เมื่อจะใช้คำนามนับได้
1.1 คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
ได้แก่ บุรุษ พจน์ การก ความชี้เฉพาะ และการนับได้
ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้จะช่วยในการแปลอย่างมาก
1.1.1 บุรุษ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด
(บุรุษที่1) และผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2)
หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง (บุรุษที่3)
1.1.2 พจน์ เป็นประเภทไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวนว่าเป็นจำนวนเพียงหนึ่ง หรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง
ภาษาอังกฤษมีตัวชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนดที่ต่างกัน เช่น ใช้ a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้น
และแสดงพจน์โดยการเติมท้ายหน่วยคำศัพท์ /s/ แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนั้นเพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
จริงอยู่เราอาจใช้คำว่า ทั้งหลาย หลายตัว หลายอัน หนึ่งตัว หนึ่งคน และอื่นๆ
ขยายคำนามเพื่อให้ตรงกับคำพหูพจน์และเอกพจน์ในภาษาอังกฤษ แต่ไม่เป็นธรรมชาติของภาษาไทย
1.1.3 การรก
คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร
คือสำพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร เช่นเป็นประธาน กรรม สถานที่และอื่นๆ
ภาต่างกันที่มีการกด้วยวิธีต่างกัน ภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน เช่น บาลี สันตกฤต
ละติน เยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ มีการแสดงการกที่คำนาม
1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้
คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ กับนามนับไม่ได้
ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม เช่น cat, dog , mouse กับคำนามเช่น water, hair ความต่างดังกล่าวนี้แสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/anกับคำนามที่เป็นเอกพจน์
และเติม s ได้ที่คำนามที่เป็นคำนามพหูพจน์ส่วนนามไม่ได้ต้องไม่ใช้
a/an
นำหน้าคำนามนับไม่ได้
1.1.5 ความชี้เฉพาะ
เป็นประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ
แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ
ผู้พูดภาษาอังกฤษจะเรียนรู้ลักษณะนี้ตั้งแต่เริ่มหัดพูดภาษาอังกฤษ
1.2 คำกริยา
คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของประโยค
การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม
เพราะมีประเภททางไวยากรร์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท เช่น กาล การณ์ลักษณะ
มาลา วาจก และ การแยกความแตกต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้
1.2.1 กาล คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต
ผู้พูดภาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากกาลบ่งชี้กาล
เพราะโลกทัศน์ของพวกเขาสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในอดีตกับไม่ใช่อดีต
1.2.2 การณ์ลักษณะ หมายถึงลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์
เช่นการเดินอยู่ของเหตุการณ์ การเสร็จสิ้นของการกระทำ การเกิดซ้ำของเหตุการณ์
เป็นต้น
1.2.3 มาลา เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา
มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
ในภาษาไทยไม่มีการแสดงมาลา แต่มีในภาษาอังกฤษ
1.2.4 วาจก
เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสำพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ
หรือถูกกระทำ
1.2.5 กริยาแท้กับกริยาไม่แท้
คำในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องการแยกคำกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้
กล่าวคือในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีคำกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ
เช่น กาล มาลา วาจก
ส่วนกริยาอื่นๆในประโยคที่ต้องแสดงรูปให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น